วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556


การสืบค้นข้อมูล

การสืบค้นข้อมูล


ความหมายของเครื่องช่วยค้นหา(Search Engines)
      คือ เครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลและข่าวสารที่อยู่ของเว็บไซต์ (Address) ต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาไปค่อนข้างมาก และโดยการใช้งานที่สะดวกขึ้น ทำให้เว็บที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาล


ประเภทของเครื่องช่วยค้นหา (Search Engines)
อินเด็กเซอร์ (Indexers)
      Search Engines แบบอินเด็กเซอร์จะมีโปรแกรมช่วยจัดการหาข้อมูลในการค้นหา หรือที่เรียกว่า Robot วิ่งไปมาในอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ เพื่ออ่านข้อมูลจากเว็บเพจ (Web Pages) ต่าง ๆ ทั่วโลกมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ โดยจะใช้ตัวอินเด็กซ์ (Index)ค้นหาจากข้อความในเว็บเพจที่ได้สำรวจมาแล้ว

ตัวอย่างของเว็บไซด์ที่ให้บริการตามแบบอินเด็กเซอร์

 -     - http://www.altavista.com       - http://www.excite.com
        - http://www.hotbot.com            - http://www.magellan.com        
        - http://www.webcrawler.com



ไดเร็กทอรี (Directories)
      Search Engines แบบไดเร็กทอรีจะใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งก็เปรียบ เสมือนกับเป็นแค็ตตาล็อกสินค้า (Catalog) เราสามารถเลือกจากหมวดหมู่ใหญ่ แล้วเลือกดูหมวดหมู่ย่อย ๆ ลงไปเรื่อย ๆ จนพบกับข้อมูลที่ต้องการ โดยจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง URL และรายละเอียดเกี่ยวกับ URL นั้น ๆ ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละเว็บเพจว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร

ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วยไดเร็กทอรี
-http://www.yahoo.com               - http://www.lycos.com
- http://www.looksmart.com       - http://www.galaxy.com
- http://www.askjeeves.com      - http://www.siamguru.com



เมตะเสิร์ช (Metasearch)
    Search Engines แบบเมตะเสิร์ชจะใช้หลาย ๆ วิธีการมาช่วยในการค้นหาข้อมูล โดยจะรับคำสั่งค้นหาจากเรา แล้วส่งต่อไปยังเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines หลาย ๆ แห่งพร้อม ๆ กัน ทำให้เราสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ Search Engines ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นก็จะสรุปแสดงผลลัพธ์ออกมา


ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วยเมตะเสิร์ช

- http://www.dogpile.com      
- http://www.profusion.com
- http://www.metacrawler.com
- http://www.highway61.com
- http://www.thaifind.com



เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยม

 
   Yahoo  
       เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กทอรี่เป็นรายแรกในอินเทอร์เน็ต และเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในปัจจุบัน เพราะมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ และผู้ใช้บริการมีโอกาสที่จะได้รับข้อมูลตรงกับความต้องการสูง การใช้งาน Yahoo แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การค้นหาในแบบเมนู และการค้นหาแบบวิธีระบุคำที่ต้องการค้นหา


Altavista
     เป็น Search Engines ของบริษัท Digital Equipment Corp. หรือ DEC ซึ่งมีฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก และมีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาที่มีความสามารถสูงเป็นจุดเด่น โดยมีเว็บเพจอินเด็กซ์ (Indexed Web Pages) เป็นจำนวนมากกว่า 150 ล้านเว็บเพจที่เราสามารถใช้ในการค้นหาข้อมูล


Excite  
     เป็น Search Engines  ที่มีจำนวนไซต์ (site) ในคลังข้อมูลมากที่สุดตัวหนึ่งและสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นคำหรือความหมายของคำได้ โดยจะทำการค้นหาข้อมูลจาก World Wide Web และ Newsgroups เป็นหลัก จากการที่ excite มีข้อมูลในคลังข้อมูลเป็นจำนวนมาก ทำให้ผลลัพธ์ในการค้นหาข้อมูลที่ได้มีเป็นจำนวนมากตามไปด้วย


Hotbot  
      เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมอีกเว็บไซต์หนึ่ง มีจุดเด่นตรงที่สามารถกำหนดเงื่อนไขขั้นสูงได้ง่ายกว่าเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ


Go.com  
      เว็บไซต์ที่มีการนำเสนอข่าวทันเหตุการณ์ต่างๆ จากแหล่งข่าวต่าง ๆ เป็นจำนวนมากตลอดจนข่าวในด้านบันเทิง (Entertainment News) นอกจากนี้ยังมีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ


Lycos  
     ฐานข้อมูลของ Lycos มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีคลังข้อมูลมากกว่า 1,500,000 ไซต์และมีเทคนิคในการค้นหาข้อมูลที่ดีมากด้วย โดยมีระบบการค้นหาข้อมูลที่รวดเร็วที่สามารถลงไปค้นหาข้อมูลจาก World Wide Web ได้ทุกรูปแบบจนถึงการค้นเป็นคำต่อคำ


Looksmart  
     เกิดขึ้นจากความคิดของชาวออสเตรเลีย  2 คนที่ไม่ประทับใจการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตสมัยนั้น โดยขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก Reader’s Digest ทั้งสองจึงลงมือสร้างเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่คำนึงถึงความใช้ง่ายให้เหมาะกับทั้งมือใหม่และผู้ที่ชำนาญอินเทอร์เน็ต


WebCrawler  
     เป็นเว็บไซต์ที่มีคลังข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง การค้นหาข้อมูลของ WebCrawlerจะมีข้อจำกัดก็คือ ใช้ค้นหาข้อมูลที่เป็นวลีหรือข้อความทั้งข้อความไม่ได้ จะสามารถค้นหาข้อมูลได้เฉพาะที่เป็นคำ ๆ เท่านั้น


Dog pile  
      เป็นเว็บไซต์ประเภทเมตะเสิร์ชที่ใช้งานง่าย และค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยการพิมพ์คำที่เราต้องการค้นหาลงในช่องค้นหา และคลิกปุ่ม Fetch โดยผลลัพธ์ของการค้นหาจะถูกแสดงขึ้นมาบนจอภาพอย่างรวดเร็ว


Ask jeeves  
      เป็นเว็บไซต์น้องใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในอินเทอร์เน็ต โดยเราสามารถถามคำถามที่เราอยากรู้โดยพิมพ์คำถามลงไปในช่องกรอกข้อความ และคลิกปุ่ม Ask แล้วAsk jeeves จะไปทำการค้นหาคำตอบ (Answer) จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้เรา


ProFusion    
     เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบเมตะเสิร์ช โดยค้นหาข้อมูลจาก Search Engines ที่ได้รับความนิยมถึง 9 แห่งด้วยกัน โดยเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Search Engines ใดในการค้นหาข้อมูลทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วและตรงกับความต้องการ

Siamguru.com
   siamguru.com ภายใต้สมญานาม “เสิร์ชฯ ไทยพันธุ์แท้” (Real Thai Search Engine)เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือค้นหาสำหรับคนไทยที่ดีที่สุดในประเทศไทย โดยให้บริการค้นหาข้อความแบบธรรมดาและแบบพิเศษ ค้นหาภาพ ค้นหาเพลง นักร้องต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการค้นหาภาษาไทย ตลอดจนมีระบบการเก็บข้อมูลใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา

การใช้งาน Search Engines

   การระบุคำที่ต้องการค้นหาหรือใช้คีย์เวิร์ด Yahoo.com การค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องป้อนข้อความที่ต้องการค้นหาหรือเรียกว่าคีย์เวิร์ด (Keyword) ลงไปในช่องสำหรับกำหนดการค้นหา ในเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล  



การค้นหาจากหมวดหมู่ (Directories)
     ในปัจจุบันเว็บไซต์ประเภท ต่าง ๆ มักจะมีการค้นหาแบบระบุคำหรือใช้คีย์เวิร์ด และการค้นหาจากหมวดหมู่ควบคู่กันไป ซึ่งการค้นหาจากหมวดหมู่จะมีการแบ่งหัวข้อต่าง ๆ ออกเป็นหัวข้อหลัก และในแต่ละหัวข้อหลักก็ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยลงไปเรื่อย ๆ ผู้ใช้สามารถคลิกที่ลิงก์ ไปยังหัวข้อย่อยต่าง ๆ จนพบกับข้อมูลที่ต้องการ

   เทคนิคในการค้นหาข้อมูล

   เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลประสบความสำเร็จมีอะไรบ้างเทคนิคและวิธีการที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตประสบความสำเร็จ ได้แก่        
         1. บีบประเด็นให้แคบลง เนื่องจากจำนวนข้อมูลที่มีมากมายในอินเทอร์เน็ตทำให้การค้นหาได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นจำนวนมาก        
          2. ใช้สิ่งที่เรียกว่าออปชัน (Option) เป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล ซึ่งเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines ส่วนใหญ่จะมีให้อยู่แล้ว        
         3. อย่าค้นหาคำที่เราต้องการเท่านั้น ควรจะค้นหาคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันด้วย

         4. หลีกเลี่ยงการค้นหาคำที่เป็นคำเดี่ยว ๆ หรือมีตัวเลขปนอยู่ เช่น NT หรือ 3Dแต่ถ้าต้องการค้นหาจริง ๆ จะต้องใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปด้วย      (“  ”)

         5. พวกกลุ่มคำ หรือวลี ก็ต้องใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปเช่นเดียวกัน        
         6. หลีกเลี่ยงคำจำพวก Natural Language (ภาษาพูด)

        7. ควรใช้สิ่งที่เรียกว่า Advanced Search หรือ Power Search เข้ามาช่วย เพราะจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของเรามากกว่าการค้นหาแบบธรรมดา

        8. พยายามอย่าตั้งคำถามโดยมีคำนำหน้านาม (Articles) นำหน้าคำที่เราต้องการค้นหา เช่น การใช้ an หรือ the นำหน้า

         9. ตรวจสอบข้อความหรือคำที่ต้องการค้นหาเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้พิมพ์หรือสะกดคำผิด        
       10. ถ้าผลลัพธ์ที่ได้จากคำถามครั้งแรกไม่ตรงกับความต้องการของเรา ให้ทดลองเปลี่ยนคำถามเล็กน้อย        
         11. คำที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน (Synonym) ยกตัวอย่างเช่น คำว่า“Mother Board” เราสามารถใช้คำว่า “Main board” แทนได้

          12. ถ้าคำถามของเรามีคำที่ต้องแยกจากัน เช่น คำว่า “Mother Board” เราจำเป็นต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศ หรือเครื่องหมายคำพูด (“         ”) เพราะจะทำให้Search Engines มองรูปของคำว่า “Mother Board” เป็นข้อความเดียวกัน

          13. ใช้ Help ให้เป็นประโยชน์ เพราะ Help เหล่านั้นจะมีเทคนิคหรือวิธีการของแต่ละ Search Engines ที่ช่วยแนะนำเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถใช้ได้หรือไม่ได้บนเว็บSearch Engines นั้น ๆ และยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะช่วยให้เราได้รับความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาด้วย



การใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
    การค้นกาข้อมูลโดย Internet Explore
        1.คลิกเม้าส์ที่ปุ่ม Search บนแถบเครื่องมือ
        2.จะปรากฏหน้าต่าง Search ขึ้นมาทางด้านซ้ายของหน้าต่าง คลิกที่ปุ่มCustomize
       3.จะปรากฏหน้าต่าง Customize Search Setting บนจอภาพ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีSearch Engines ต่าง ๆ ให้เราสามารถเลือกใช้ในการค้นหาข้อมูล
        4.คลิกที่ปุ่ม OK
        5.เลือกสิ่งที่ต้องการให้โปรแกรม Internet Explorer ค้นหา
        6.กรอกข้อความ แล้วคลิกเม้าส์ที่ปุ่ม เพื่อเริ่มต้นการค้นหา
    7.จะปรากฏรายชื่อเว็บไซต์ที่มีข้อมูลที่เราต้องการ เราสามารถคลิกเม้าส์ที่ชื่อเว็บไซต์เหล่านั้นได้ทันที

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์


          คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง


ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์

• คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
     แบ่งออกเป็น  5  ส่วนคือ    
      ส่วนที 1 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)                
             - เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่          
             - แป้นอักขระ (Keyboard)        
             - แผ่นซีดี (CD-Rom)            
             - ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
     ส่วนที 2 หน่วยประมวลผลกลาง   (Central Processing Unit)  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ            
     ส่วนที่ 3 หน่วยความจำ  (Memory Unit)  ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
     ส่วนที่ 4  หน่วยแสดงผล  (Output Unit)  ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
    ส่วนที่ 5  อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ   (Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น



ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณ   ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วย    อำนวยความสะดวกในการใช้งาน



ระบบคอมพิวเตอร์

     ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี  ระบบทะเบียนราษฎร์  ระบบทะเบียนการค้า  ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
      การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
          ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้                  1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง        
 2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง      
 3.ข้อมูล (Data)      
 4.บุคลากร (Peopleware)ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เรา

สามารถสัมผัสและจับต้องได้  ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
    1.ส่วนประมวลผล (Processor)
    2.ส่วนความจำ (Memory)  
    3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output Devices)  
    4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)

ส่วนที่1 CPU
      CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง    มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวนผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)


ส่วนที่2 หน่วยความจำ (Memory)
     
จำแนกออกเป็น  2 ประเภท ดังนี้          
  1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)          
  2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)


1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)    เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำ

1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผล และเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วยความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือ จำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU  มีความหมาย


ทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ  
1ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์  
2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่


1.หน่วยความจำหลัก      
    แบ่งได้ 2  ประเภทคือ
       หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM)และหน่วยความจำแบบ”รอม”(ROM)
   
    1.1 หน่วยความจำแบบ “แรม”(RAM=Random Access Memory)  เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)

 
    1.2 หน่วยความจำแบบ “รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)หน่วยความจำสำรอง  หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิมเตอร์แล้ว   หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ  1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต  2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร  3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง



ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
      หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเถทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ  

ส่วนแสดงผลข้อมูล
     ส่วนแสดงผลข้อมูล   คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้  อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่  จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์( Printer)เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter และ ลำโพง (Speaker)  เป็นต้น

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)  
      บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของ หน่วยงานคอมพิวเตอร์


ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)  
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน  
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม  
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ


บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)


นักวิเคราะห์ระบบงาน      
     ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่          


โปรแกรมเมอร์                    
    นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม                  


วิศวกรระบบ                    
    ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ                  


พนักงานปฏิบัติการ                    
     ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์ เป็นระดับต่างๆได้ 4 ระดับดังนี้


    1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)   คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

    2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)    คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

    3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)  คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

    4. ผู้ใช้ (User)  คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

งานที่ได้รับมอบหมาย (Assignment 2)
Search Engine คืออะไร

    เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
    1. กูเกิล (Google) 36.9%
    2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
    3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%

นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน

ประโยชน์ของ Search Engine

1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์ ์เกี่ยวกับข้อมูล และซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย
         ในโลกยุคอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้มีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูล จำนวนมากมาย อย่างนี้เราไม่อาจจะคลิก เพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จำเป็นจะต้องอาศัย การค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหา ที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อ ความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล มีมากมายหลายทั้งที่เป็นของคนไทย และต่างประเทศ ความหมาย/ประเภท ของ Search Engine การค้นหาข้อมูลบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
        ถ้าเราเปิดไป ทีละหน้าจออาจจะต้องเสีย เวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบการที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็ว จะต้องใช้ เว็บไซต์สำหรับการ ค้นหาข้อมูล ที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ผู้ใช้ งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำ หรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่ กำหนด Search Engine แต่ละ แห่งมีวิธีการ และการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภท ของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวม ข้อมูล
        ดังนั้น การที่จะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อย จะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ ใช้ วิธีการหรือ ประเภทของSearch Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป การเลือก ใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูล ที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร มีขอบข่ายกว้างขวาง หรือแคบขนาดไหน แล้ว จึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับ ความต้องการของเรา
        เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา (Search Engine) มี ประโยชน์อย่างมากต่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป เนื่องจากข้อมูลข่าวสารบนโลกอินเตอร์เน็ตมีมากมายมหาศาล และเมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลสารสนเทศใดๆ จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่ผู้ใช้งานต้องการ หรือสรุปได้ดังนี้
• ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
• สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
• สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับ ข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
• มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
• รองรับการค้นหา ภาษาไทย  นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาใน รูปแบบของ Search Bar ที่ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเข้าผ่านเว็บไซต์ Search Engine เหล่านั้นโดยตรงแล้ว ตัวอย่าง  Search Bar ที่ขอแนะนำ เช่น Google Search Bar, Yahoo Search Bar เป็นต้น


การทำงานของ Search Engine
     Search Engine แต่ละประเภทจะมีการทำงานที่คล้าย ๆ กันนั่นคือ การส่ง Web Crawler หรือSpider ไปเก็บข้อมูลเว็บไซต์ต่าง ๆ เข้ามาเก็บไว้ในระบบ เพื่อจัดทำเป็นดัชนี (Indexing) การค้นหา และเมื่อผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine ตัวโปรแกรม Search Engine ก็จะทำการประมวลผลด้วยอัลกอลิทึมการจัดอันดับ (Ranking) และนำผลลัพท์จากข้อมูลที่มีอยู่ออกมาแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้เห็น
Search Engine ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันผู้ใช้งานในประเทศไทยจะใช้งาน Google Search Engine ซึ่งคิดเป็น % แล้วมากถึง 95% เลยทีเดียว เนื่องด้วยคุณภาพ ความเร็วในการค้นหา และลูกเล่นอื่น ๆ เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการทำ SEO ก็ควรที่จะศึกษาการทำงานของ Google เพื่อที่จะทำให้อันดับการค้นหาของเว็บไซต์ตัวเองอยู่ในอันดับต้น ๆ ได้นั่นเอง ไทยมีบอร์ด กับ Search Engineไทยมีบอร์ดขับเคลื่อนโดย SMF ซึ่งในเรื่องของ SEO นั้นถือว่ามีโครงสร้างทาง On Page ที่ดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นผู้ใช้งานที่ใช้บริการเว็บบอร์ดของไทยมีบอร์ดไม่จำเป็นที่จะต้องปรับแต่งโครงสร้างใด ๆ ของเว็บบอร์ดเลย เพียงแต่ต้องทำ Off Page ใน Keyword และหน้าที่ต้องการโดยการหา Backlink เข้าสู่เว็บไซต์ เพื่อที่จะทำให้อันดับการค้นหาอยู่ในอันดับต้น ๆ ได้ เพราะว่าเมื่อผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลต่าง ๆ แล้วเห็นเว็บไซต์ของเราอยู่ในอันดับต้น ๆ ผู้ใช้งานก็ย่อมที่จะคลิกสู่เว็บไซต์เราเป็นแน่ เพียงแค่นี้ก็จะได้คนเข้าเว็บ (Traffic) กันแล้ว Search Engine มี Google, Yahoo, Bing, Ask, Wikipedia, Answers เป็นต้น